วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

โรคในฤดูหนาวอีกโรค โรคไข้หวัดนก

ไข้หวัดนก เมื่อตอนปี 40 เกิดการตื่นตัวอย่างหนักกันโรคนี้ และก็มีการกำจัดไก้ไปมากมาย เพื่อยับยั้งโรค และเป็นเหตุให้ต่างชาติไม่สั่งไก่จากประเทศเรา แต่ถึงอย่างไรโรคนี้สามารถพัฒนาสายพันธ์ได้ แต่ยังไม่มีรายงานที่แน่นอนว่าสามารถติดจากสัตว์มาสู่คนได้ และมักระบาดในฤดูหนาว


โรคที่ 8 กับ โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (Influenza A) สายพันธุ์ H5N1 เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ปีกที่มักมีการเรียกขานว่า ไข้หวัดนก สัตว์ปีกทุกชนิดรับเชื้อนี้ได้ ไก่มักป่วยรุนแรงและตาย ส่วนนกน้ำ นกชายทะเล นกป่า และเป็ดมักไม่ป่วย แต่เป็นพาหะ คือมีเชื้อออกมากับมูล ทำให้โรคแพร่มายังไก่ที่เลี้ยงในฟาร์มและตามบ้านเรือน รวมทั้งนกในธรรมชาติ

ซึ่งปกติ ไวรัสไข้หวัดที่มักระบาดในนกไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เพราะไม่สามารถแทรกผ่านและเติบโตในเซลล์ของมนุษย์ได้ ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าไวรัสในสัตว์จะผสมกับไวรัสไข้หวัดในนก ได้เมื่อไวรัสทั้งสองอยู่ในสัตว์ตัวเดียวกัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เห็นว่าหมูเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่เป็นไปได้มากที่สุด เพราะเซลล์ของหมูมีโมเลกุลผิวที่เปิดรับไวรัสได้ทั้งสองประเภท สมมติว่าหมูได้รับไวรัสจากเกษตรกรและจากเป็ดในฟาร์มเดียวกัน ไวรัสทั้งสองอาจ “แลกเปลี่ยนข้อมูล” และผลิตไวรัสลูกผสมที่มียีนไวรัสไข้หวัดนกและมีคุณสมบัติในการแพร่เข้าสู่ เซลล์มนุษย์ ซึ่งเป็นไวรัสหน้าใหม่ที่ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ไม่รู้จัก และอันตรายกว่าปกติ

อย่างที่บอกก่อนหน้า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2540 เด็กชายวัย 3 ขวบ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในฮ่องกง ด้วยอาการไอและมีไข้ ผู้ป่วยอาการทรุดหนักอย่างรวดเร็ว และมีปัญหาในการหายใจ แม้จะได้รับยาปฏิชีวนะจำนวนมาก และใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่เด็กชายกลับเสียชีวิตลงภายใน 6 วัน ผู้เชี่ยวชาญโรคหวัดต่างประหลาดใจ เมื่อตรวจพบเชื้อไวรัส H5N1 ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ระบาดในไก่อยู่ในเมือกที่หลอดลมของเด็กชาย นับเป็นกรณีแรกที่มีรายงานว่าคนติดเชื้อจากสัตว์ปีกได้ จนกระทั่งปลายปีเดียวกัน คนไข้ 17 คน เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของฮ่องกง ด้วยอาการใกล้เคียงกับเด็กชายที่เสียชีวิตเมื่อต้นปี เมื่อสืบสาวเรื่องราวการระบาดของโรค หลายฝ่ายต่างมุ่งไปที่เป็ด ห่าน และไก่หลายร้อยล้านตัวที่นำกองทัพไวรัสจากสาธารณประชาชนจีนเข้ามายังฮ่องกง ก่อนจะแพร่ระบาดไปยังประเทศอื่นๆ ร่วมครึ่งทวีปเอเชีย และมีผลให้มีการฆ่าสัตว์ปีกจำนวนมหาศาลในปีพ.ศ.2546 และเชื้อไวรัสชนิดนี้เริ่มจู่โจมมนุษย์อีกครั้งเมื่อเดือนสิงหาคม 2548 รายงาน ณ เดือนสิงหาคมระบุว่า มียอดผู้เสียชีวิตในเวียดนาม 40 ราย ไทย 12 ราย กัมพูชา 4 ราย

มีการคาดการร์ของนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ไวรัสชนิดนี้อาจพัฒนาความสามารถในการแพร่กระจายได้เองโดยการกลายพันธุ์ หรือการแลกเปลี่ยนยีนกับไวรัสไข้หวัดในคน ซึ่งเป็นกระบวนการที่อาจเกิดขึ้นในร่างกายของผู้ป่วยที่ได้รับทั้งเชื้อไข้ หวัดนกและไข้หวัดธรรมดาพร้อมๆ กัน แต่ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดเกี่ยวกับกระบวนการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมดังกล่าว โดยเชื้อไวรัส H5N1 เป็นไวรัสที่น่าสะพรึงกลัว เพราะนักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ไม่มาก เริ่มจากกระบวนการสังหาร หากไก่ติดเชื้อ ไวรัสจะแพร่ทั้งตัว ทั้งตับไตไส้พุง ปอด สมอง และกล้ามเนื้อ แต่หากเป็นคน พบว่าส่วนใหญ่ ไวรัสจะโจมตีปอดเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม ในเวียดนามตรวจพบเด็กชายติดเชื้อ H5N1 ที่มีอาการหนักจากสมองอักเสบและเสียชีวิตในที่สุด แต่ปอดกลับอยู่ในสภาพปกติดี

แต่ในประเทศไทยเองก็เคยมีมีกรณีที่ที่ เชื้อไวรัส H5N1 จากเด็กหญิงที่ป่วยด้วยไข้หวัดนกอาจแพร่ไปสู่แม่และป้าที่เฝ้าพยาบาล แต่ดูเหมือนไวรัสชนิดนี้จะทำได้แค่การแพร่เชื้อจากผู้ป่วยโดยตรงเท่านั้น จนถึงขณะนี้ยังไม่รายงานการแพร่เชื้อแบบต่อเนื่อง หรือการแพร่ระบาดแบบปฏิกิริยาลูกโซ่อย่างที่พบในไวรัสไข้หวัด

แม้นยังไม่มีวัคซีลแต่ก็ถือว่าโชคดีที่มียาต้านไวรัสที่ใช้ได้ผลดีกับการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ในคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ภายใน 48 ชั่วโมงคือยาที่มีชื่อทางการค้าว่า “ทามิฟลู (Tamiflu)” ของบริษัทโรช แห่งสวิตเซอร์แลนด์ องค์การเภสัชกรรมของไทยได้ซื้อวัตถุดิบสารตั้งต้นเพื่อผลิตยานี้จากอินเดีย โดยเป็นวัตถุดิบชนิดเดียวกับที่บริษัทโรชใช้ผลิตยาทามิฟลู และบริษัทผู้ขายได้ทดลองผลิตยาในห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันคุณภาพของวัตถุดิบให้องค์การเภสัชกรรมตรวจแล้ว พบว่ามีการละลายและกระจายตัวดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ดี ทางอินเดียจะส่งวัตถุดิบเพื่อให้องค์การเภสัชกรรมผลิตเป็นยาในระดับห้อง ทดลองจำนวน 5 กิโลกรัม และจะส่งมาให้อีก 100 กิโลกรัม ในเดือนธันวาคมนี้ คาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 องค์การเภสัชกรรมจะสามารถผลิตได้ 1 ล้านแคปซูล

ในประเทศไทยเรามีมติของคณะกรรมการยาล่าสุด กำหนดชัดเจนให้ยาทามิฟลูเป็นยาควบคุมพิเศษ ไม่ อนุญาตให้วางขายตามร้านขายยาทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันกรณีที่มีผู้หาซื้อยามากินเองด้วยความเข้าใจผิดคิดว่า ป้องกันโรคไข้หวัดนกได้ ซึ่งตามความจริงแล้วยาทามิฟลูจะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อแพทย์ได้พิจารณาแล้วว่า ผู้ป่วยรายนั้นๆ สงสัยติดเชื้อไข้หวัดนกเท่านั้น นอกจากนี้อีกเหตุผลหนึ่งที่ทางการกำหนดให้ยาทามิฟลูเป็นยาควบคุมพิเศษ เพื่อเป็นการป้องปรามการพัฒนาของผู้ขายที่อาจนำไปสู่การผลิตยาปลอมได้

ตอนนี้มีข้าวจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศว่าวัคซีนต้านไวรัส H5N1 ที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนยีนที่อยู่ระหว่างทดสอบในมนุษย์ ให้ผลเบื้องต้นที่ส่อเค้าถึงความสำเร็จ ซึ่งหลายฝ่ายต่างเฝ้ารอคอยว่าวัคซีนจะผ่านกระบวนการทดสอบจนครบถ้วนกระบวนการ และพร้อมใช้ก่อนที่จะเกิดการระบาดจริง

ยังไงเสียการดูแลตนเองไม่ให้เกิดโรคน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด คำกล่าวที่ว่า “ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” นั้นเป็นความจริงที่สุด ทุกคนไม่มีใครอยากเจ็บป่วย  เพราะว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วจะอยู่ในภาวะที่ไม่สบายกายไม่สบายใจ ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยเท่านั้น  พ่อแม่พี่น้อง ก็พลอยทุกข์ทรมานด้วย และยังทำให้เสียเงินทอง  เสียเวลาในการรักษาการเจ็บป่วยนั้น  ให้กลับคืนสภาพปกติและมีสุขภาพดีให้เร็วที่สุดเมื่อการเจ็บป่วยด้วยโรค ต่างๆ รวมทั้ง 8 โรคอันตรายในฤดูหนาวนี้เป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา เราจึงควรหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยโดยการป้องกันโรค รวมทั้งป้องกันไม่ให้การเจ็บป่วยนั้นรุนแรงมากขึ้นในกรณีที่เป็นโรคแล้ว ทั้งยังควรป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำในกรณีที่หายจากโรคแล้ว

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อีกโรคที่ระบาดในฤดูหนาว

จริงๆ โรคนี้บางคนอาจจะบอกว่ามันเป็นโรคที่เกิดในฤดูร้อนไม่ใช่หรือ แต่ที่จริงเป็นโรคที่มักระบาดในช่วง เดือน ตุลาคม–กุมภาพันธ์ แต่ก็มีพบในเดือนเมษายน มาดูลักษณะของโรค

โรคที่ 7 โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Gastroenteritis) โดยโรคนี้เป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและยืนยันถึงภัยอันตราย เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตของเด็กยังมีอัตราที่สูง โดยคร่าชีวิตเด็กทั่วโลกปีละสามหมื่นถึงห้าหมื่นคน เชื้อไวรัสที่เป็น สาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันได้แก่ โรตาไวรัส (Rota virus)


โรคนี้มักพบในเด็ก เชื้อโรคนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง และมักมีอาการไข้ และอาเจียน บางรายที่เสียน้ำมากอาจช็อค และเสียชีวิต เป็นเชื้อต้นเหตุของลำไส้อักเสบรุนแรงในเด็กอ่อน และเด็กที่มีอายุ 1–3 ขวบ ช่วงที่โรตาไวรัสระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือน ตุลาคม–กุมภาพันธ์ ของทุกปีอย่างที่บอกตอนต้น เชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายทางปาก และลงไปที่กระเพาะอาหาร และแบ่งตัวที่ลำไส้ เด็กที่ติดเชื้อ นอกจากสูญเสียน้ำ แล้วยังสูญเสียสารสำคัญที่ช่วยลำไส้ดูดซึมอาหาร

แม้นจะรู้ว่าเกิดอย่างแต่ปัจจุบันก็ยังไม่มียาหรือวิธีการใดที่สามารถกำจัดการติดเชื้อหรือการติดต่อได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การล้างมือด้วยสบู่ หรือน้ำยาทำความสะอาด ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายได้ อย่างไร ก็ตาม ประเทศที่มีระบบสุขอนามัยที่ดี มีระบบน้ำประปาที่สะอาด ก็ยังไม่สามารถลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคตัวนี้ได้

โรคนี้ถูกพบโดย ดร.รูธ บิชอป ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ และยังเป็นผู้ค้นพบโรตาไวรัสเป็นครั้งแรกของโรค กล่าวว่า “โรตาไวรัส เป็นเชื้อที่เต็มไปด้วยปริศนา และยังไม่ทราบว่าทำไมบางคนได้รับเชื้อตัวนี้ แต่มีอาการไม่รุนแรง แต่บางคนมีอาการรุนแรง บางทีพันธุกรรมของมนุษย์ก็มีส่วน" โดยเมื่อเป็นโรคนี้แพทย์จะรักษาแบบประคับประคอง คือให้ยาตามอาการ เช่นให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ไข้ และน้ำเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียเกลือแร่จากการถ่ายและอาเจียน หากร่างกายมีภาวะเครียด แพทย์จะรักษาให้ความดันลดลง

เคยมีการค้นพบวัคชีนเมือนกันแต่ด้วยผลข้างเคียงจึงสั่งยกเลิกไป ในปีพ.ศ.2541 ผู้ผลิตยารายหนึ่งผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อโรตาไวรัสสำเร็จ หลังจากผ่านการทดสอบแล้วว่ามีผลป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาจึง อนุมัติให้จำหน่ายในท้องตลาดได้ แต่วัคซีนดังกล่าวต้องถูกถอนออกจากตลาด หลังจากพบว่า ส่งผลให้เกิดอาการลำไส้กลืนกัน แม้ว่าอัตราส่วนของเด็กที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวจะมีน้อยมากก็ตาม

แม้นว่าการการของโรคจะข้อนข้างรุนแรงแต่ป้องกันได้ด้วยการล้องมือ ฆรือที่กระทรวงสาธารณะสุขบอกว่า "กินร้อน ช้องกลาง ล้างมือ"

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

โรคนี้ักพบบ่อยในเด็กวัยเรียน ไข้สุกใส

ไข้สุกไสเป็นอีกโรคที่มีอาการเริ่มต้นเหมือนกับไข้หวัด แต่จากนั้นก็จะเริ่มมีตุ่มแดง และโตมีน้ำใส และจะแห้งไปเอง แต่จะคัน เมื่อใกล้จะยุย แต่มีคนบอกว่าห้ามเกาปล่อยมันแห้งตามธรรมชาติ มาดูอาการของโรค


6. โรคไข้สุกใส (Chickenpox/Varicella) โดยโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า วาริเซลลาไวรัส (Varicella virus) หรือ Human herpesvirus type 3 เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดงูสวัด ติดต่อโดยการสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรงหรือสัมผัสถูกของใช้อย่าง แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน ที่เปื้อนตุ่มน้ำของคนที่เป็นสุกใสหรืองูสวัด หรือสูดหายใจเอาละอองของตุ่มน้ำ ผ่านเข้าทางเยื่อเมือก ระยะฟักตัวในร่างกาย 10-20 วัน

การพบโรคโรคนี้ัมักพบบ่อยในเด็กวัยเรียน ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้าง ซึ่งมักเป็นคนที่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน แล้วมักมีอาการและภาวะแทรกซ้อนมากกว่าที่พบในเด็ก พบระบาดในตอนปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน (มกราคมถึงเมษายน) เช่นเดียวกับหัด แต่ก็พบได้ประปรายตลอดทั้งปี โดยอาการของโรคมีไข้ต่ำ ๆ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหารเล็กน้อย ในผู้ใหญ่มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่นำมาก่อน ผู้ป่วยจะมีผื่นซึ่งจะขึ้นพร้อม ๆ กันกับวันที่เริ่มมีไข้ หรือ 1 วัน หลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูน มีน้ำใส ๆ อยู่ข้างใน และมีอาการคัน ต่อมาจะกลายเป็นหนอง หลังจากนั้น 2-4 วัน ก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มจะขึ้นตามไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้า ลำตัว และแผ่นหลัง ทยอยขึ้นเต็มที่ภายใน 4 วัน บางคนมีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทำให้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย เจ็บคอ บางคนอาจไม่มีไข้ มีเพียงผื่นและตุ่มขึ้นทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเริมได้ เนื่องจากผื่นตุ่มของโรคนี้จะค่อย ๆ ออกทีละระลอก (ชุด) ขึ้นไม่พร้อมกันทั่วร่างกาย ดังนั้นจึงพบว่า บางที่ขึ้นเป็นผื่นแดงราบ บางที่เป็นตุ่มใส บางที่เป็นตุ่มกลัดหนอง และบางที่เริ่มตกสะเก็ด ด้วยลักษณะนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า อีสุกอีใส (มีทั้งตุ่มสุกตุ่มใส) และเปลี่ยนเป็นโรคสุกใสในปัจจุบัน

แต่การแพมย์ในปัจจุบันมีวัคซีนฉีด ป้องกันโรคสุกใสมีใช้แล้ว แต่ราคาค่อนข้างแพง ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคนี้สูง เช่น บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ดูแลเด็กในสถานเลี้ยงเด็ก ครูอนุบาลหรือชั้นประถมศึกษา เป็นต้น อาจรับวัคซีนเพื่อป้องกันโรคนี้ได้

แม้นว่าโรคนี้จะไม่ได้เกิดในฤดูหนาวโดยเฉพราะแต่ก็จะระบาดหนักในฤดูนี้ เหมือนทุกโรคที่ได้กล่าวมาก่อนนี้ 5 โรควันหน้าเรามาติดตามกินต่อครับส่วยจะเป็นโรคอะไรนี้ค่อยว่ากัน อิอิ

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

โรคหัด อีกหนึ่งโรคที่มักจะเกิดกับเด็กเด็กวัยก่อนเรียนและวัยเรียน

เจอกันอีกวัน วันนนี้ก็เป็นเรื่องของหัดเหมือนกันรอบที่แล้วแต่มีชื่อต่อท้าย ว่าเยอรมัน ค้นพบลักษณะที่ต่างกันโดยแพทย์ชาวเยอรมัน แต่ในบ้านเราจะรู้จักในนามของ โรคเหือด นั่นเอง


5. โรคหัดเยอรมัน (Rubella)  โรคนี้แพทย์ชาวเยอรมันเป็นผู้อธิบายว่าโรคนี้เป็นโรคใหม่ที่ต่างจากหัด จึงเรียกโรคนี้ว่า หัดเยอรมัน  ส่วนในบ้านเรามีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า เหือด โรคนี้ไม่ใช่โรคร้ายแรง ถ้าเป็นกับเด็กหรือผู้ใหญ่ทั่วไปมักจะหายได้เอง โดยไม่มีโรคแทรกซ้อนที่รุนแรง

โรคหัดเยอรมันนี้เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า  รูเบลลาไวรัส (Rubella virus) ซึ่งมีอยู่ในน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ติดต่อโดยการ ไอ จาม หรือ หายใจรดกัน เช่นเดียวกับไข้หวัด หรือหัด โดยมีระยะฟักตัวในร่างกาย 14-21 วัน หัดเยอรมันเป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ มีอาการไข้ และออกผื่นคล้ายหัด แต่มีความรุนแรงและโรคแทรกซ้อนน้อยกว่าหัด ลักษณะสำคัญคือ "ผื่น" ซึ่งจะมีลักษณะเฉพาะ คือ เป็นเม็ดละเอียดสีแดง มองเห็นเป็นปื้นๆ หรือจุดๆ กระจัดกระจาย เริ่มต้นขึ้นที่ใบหน้าก่อน จากนั้นจะลุกลามแผ่กระจายลงมาตามหน้าอก ลำตัว แขนขา จนกระทั่งทั่วร่างกายอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น และจะหายไปภายใน 3 วัน ไร้ร่องรอยเหมือนไม่เคยมีมาก่อน ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งสังเกตพบได้ คือต่อมน้ำเหลืองบริเวณหลังหูโต ซึ่งมักเกิดขึ้นมาก่อนมีผื่นประมาณหนึ่งอาทิตย์ แต่จะคงอยู่ต่อไปอีก ภายหลังผื่นหายไปแล้วประมาณ 2 อาทิตย์ แต่ในสตรี อาจมีอาการปวดตามข้อเล็กๆ ร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะเป็นหลายๆ ข้อพร้อมกันระยะเวลาที่ปวดอาจจะเป็นวันจนถึง 2 สัปดาห์ แต่มักไม่เกินหนึ่งเดือน

แต่อย่างไรก็ตาม หัดเยอรมันจัดเป็นโรคอันตรายต่อทารกในครรภ์มารดา หากไวรัสหัดเยอรมันเกิดขึ้นในมารดาขณะตั้งครรภ์ต่ำกว่า 3 เดือนแล้ว ทารกน้อยมีโอกาสพิการสูง และความพิการที่เกิดขึ้นรุนแรง ทารกที่เกิดมาจะตาบอด, หูหนวก, หัวใจพิการ และที่สำคัญคือ สมองพิการ ปัญญาอ่อน ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หาก เด็กเหล่านี้คลอดออกมาแล้วไม่ตาย แต่ยังมีชีวิตอยู่ จะเป็นภาระสำหรับบิดา-มารดา เป็นเวลานานนับสิบปี-ยี่สิบปี จากนั้นจึงจะเสียชีวิตไป

การป้องกันโรคนี้ทำได้ง่ายมากเพียงแต่ฉีดวัคซีนให้กับทุกคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันหัดเยอรมัน เท่านั้น และหากบังเอิญสตรีคนใดไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ในขณะตั้งครรภ์ ก็ไม่ต้องวิตกกังวลเพราะเท่าที่มีรายงานในโลกนี้ ไม่มีทารกรายใดเลยที่พิการด้วยวัคซีนนี้

วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

โรคหัด อาการคล้ายๆ ไข้หวัด

หลังจากที่ผ่านไป 2 โรคแล้ววันนี้เราก็ยังมีอีกโรคที่อาการคล้ายๆ กับไข้หวัดมาเป็นความรู้ฝากให้ทุกท่านประดับสมองเอาไว้ หรือน้องอาจจะนำไปทำรายงาย อย่างไรก็แล้วแต่รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บากแบกหากรู้มาก สมองยิ่งพัฒนามากดังที่เขาบอกว่า ทำตัวให้เป็นแก้เปล่าแล้วเราจะได้ความรู้เพิ่ม วันนี้เป็นคิวของโรค ปอดบวม มาดูกันเลยว่าเป็นยังไง

4. โรคหัด (Measles) โรคนี้เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักจะเกิดกับเด็กเด็กวัยก่อนเรียนและวัยเรียน ตั้งแต่อายุ 2 ถึง 12 ขวบ มักไม่พบในเด็กเล็กกว่า 8 เดือน เพราะมีภูมิคุ้มกันจากแม่ ติดต่อกันได้ง่ายมาก โดยการไอ จามรดกันโดยตรง หรือหายใจเอาละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วย ซึ่งลอยอยู่ในอากาศเข้าไป โรคหัดมักเกิดระบาดในช่วงปลายฤดูหนาวต่อกับฤดูร้อน

โดยโรคหัดเป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อไวรัสที่เรียกว่ารูบีโอราไวรัส (rubeola virus) เป็นอาร์เอ็นเอไวรัสที่พบได้ในจมูกและลำคอของผู้ป่วย อาการของโรคหัดคล้ายคลึงกับอาการของหวัดธรรมดา คือ มีไข้ก่อนน้ำมูกไหล มักจะไอแห้งๆ ตลอดเวลา ไม่มีทางทราบเลยว่าเด็กเป็นโรคหัด จนเมื่ออาการ มีไข้สูง ตาแดงก่ำ และแฉะ เวลาโดนแสงจะแสบตา ระคายตา ทำตาหยี ไอ มีน้ำมูกมาก ปากและจมูกแดง นอกจากอาการที่กล่าวมาแล้ว เด็กอาจจะมีไข้สูงประมาณ 3 –4 วัน จึงเริ่มมีผื่นจากหลังหูลามไปยังหน้าและร่างกาย ผื่นจะมีขนาดโตขึ้นและสีจะเข้มขึ้นเรื่อยๆ ถ้าสังเกตจะพบว่าก่อนวันที่เด็กจะมีผื่นออกตามลำตัวจะมีตุ่มเล็กๆ ในปากตรงฟันกรามบน ซึ่งเป็นตุ่มเกิดขึ้นเฉพาะโรคหัดเท่านั้น พอผื่นออกได้ประมาณ 1-2 วัน เด็กก็จะมีอาการดีขึ้น

เป็นเรื่องดีที่ในปัจจุบันโรคนี้มีวัคซีนป้องกัน เป็นวัคซีนรวม หัด หัดเยอรมัน และคางทูม ซึ่งเด็กทุกคนควรไปรับวัคซีนป้องกันโรคหัด ตามช่วงอายุที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

โรคปอดบวม โรคในฤดูหนาวเป็นอีกโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ

หลังจากที่ผ่านไป 2 โรคแล้ววันนี้เราก็ยังมีอีกโรคความรู้อีกเรื่องมาฝากกัน โรคนี้มักจะเป็นกันในช่วง ต้นฤดูฝนจนถึงสิ้นฤดูหนาวเลยทีเดียว โรคที่ว่านี้ก็คือโรคปอดบวม มาดูลักษณะของโรคและสาเหตุการเกิดกันดีกว่า


3. โรคปอดบวม (Pneumonia) เป็นโรคที่เกิดภาวะปอดเกิดอาการอักเสบจากการติดเชื้อ ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ซึ่งในสภาวะที่ผิดปกติอาจเกิดจากเชื้อรา และพยาธิ เมื่อเป็นปอดบวม จะมีหนองและสารน้ำอย่างอื่นในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับออกซิเจน ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน และอาจถึงแก่ชีวิตได้

ปกติปอดจะเป็นแหล่งที่ปราศจากเชื้อโรค เป็นอวัยวะที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจที่อยู่ต่ำกว่ากล่องเสียงจะเป็นที่ที่เราไม่พบเชื้อโรคอยู่เลย หากปอดบวมเกิดขึ้นได้ ก็แปลว่าเราอาจสูดหายใจเอาไวรัสผ่านเข้าไปจนกระทั่งถึงเนื้อปอด หรือแบคทีเรียที่อยู่ในลำคอร่วงหล่นลงไปทำให้เกิดอาการอักเสบในเนื้อปอด ส่วนปอดบวมที่เกิดจากการที่แบคทีเรียพลัดหลงเข้าไปในกระแสเลือด แล้วลอยไปติดอยู่ในเนื้อปอดแล้วทำให้เกิดอาการอักเสบก็พบได้บ้าง แต่น้อยมาก

แต่บางคนอาจจะบอกว่า แล้วทำไมบางคนไม่เป็นโรคปอดบวม นั่นก็เนื่องจากร่างกายของเราได้สร้างระบบป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ปอดไว้อย่างสลับซับซ้อน เรียกว่าเป็นด่านกักกันและทำลายเชื้อโรค ก่อนที่มันจะเข้าไปยังปอด เริ่มต้นด้วยประตูทางเข้าของทางเดินหายใจในจมูกมีขนเพื่อกรองเอาฝุ่นละออง เชื้อโรคไม่ให้พลัดหลงลงไปในทางเดินหายใจส่วนที่อยู่ลึกลงไป รอบ ๆ คอของเรามีต่อมน้ำเหลืองเรียงกันเป็นวง ซึ่งทำหน้าที่เป็นป้อมยามคอยดักเอาเชื้อโรคไม่ให้รุกล้ำเข้าไป ต่อมกลุ่มนี้ที่เรารู้จักกันดีก็คือต่อมทอนซิล นอกจากนี้ เรายังมีลิ้นปิดเปิดกล่องเสียงอันเป็นทางผ่านของทางเดินหายใจโดยอัตโนมัติ หากว่าสิ่งแปลกปลอมยังหลงเข้าไปในหลอดลมได้อีก ร่างกายก็จะมีปฏิกิริยาไอ เพื่อขย้อนเอาสิ่งแปลกปลอมนั้นๆ ออกมานอกร่างกาย ทางเดินหายใจตั้งแต่ระดับใต้กล่องเสียงลงไปจนถึงหลอดลมขนาดเล็กยังบุด้วย เซลล์ที่มีขนกวัดไปตลอดระยะทาง เซลล์พิเศษนี้มีหน้าที่พัดเอาสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กออกมา

นอกจากที่กว่ามาข้างต้นเล้ว เรายังมีเม็ดเลือขาวที่คอยทำหน้าที่เป็นทหารคอยภูมิคุ้มกันทำหน้าที่คอยกำจัดเชื้อโรคที่อาจจะพลัดหลงเข้าไปได้ สารจำพวกนี้เป็นโปรตีนในทางเดินหายใจส่วนบนเราจะพบ IgA อยู่หนาแน่นเป็นพิเศษ IgA มีหน้าที่ทำลายไวรัสที่จะพลัดหลงเข้าไป แล้วยังมี IgG ที่อยู่ในซีรั่มและอยู่ในทางเดินหายใจส่วนล่างทำหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบ โตของแบคทีเรียที่อาจจะเข้าไปในเนื้อปอด ทั้งนี้โดยอาศัยความช่วยเหลือจากเม็ดเลือดขาวบางตัว

เมื่อลองพิจารณาจากระบบป้องกันของร่างกายทั้งหมดแล้วจะเห็นได้ว่า โรคปอดบวมไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ เลย ในระบบร่างกายคนเรามีระบบป้องกันดังกล่าวสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นหากเกิดโรคนี้แสดงว่า ร่างกายคงจะอ่อนแอระดับหนึ่ง หากท่านรักษาความแข็งแรงของร่างกายดีโรคนี้ไม่เกิดกับคุณแน่ๆ ครับผมรับรองเลย

วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

ไข้หวัด อีกโรคในฤดูหนาวอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่

หลังจากที่ได้กล่าวถึงไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นโรคที่น่ากลัวและร้ายแรงมากเป็นอันดับต้นๆ ของโรคติดต่อ และที่สำคัญมีการเสียชีวิตจากโรคนี้ด้วย แต่วันนี้เรามารู้จักกันกับ "ไข้หวัด" อาการอาจไม่ต่างกันมากแต่โรคไข้หวัดนี้จะไม่เมือนไข้หวัดใหญ่ก็ตรงที่ ไม่มีอาการไข้ และอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ


2. ไข้หวัด (Common cold) เป็นไข้หวัดธรรมดาโดยจะมีอาการคล้ายๆ กันกับไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ข้อแตกต่างก็คือไข้หวัดธรรมดา ก็คือมักมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม คันคอ เจ็บคอ เป็นอาการเด่นชัด ไม่ค่อยมีอาการไข้ และปวดกล้ามเนื้อ อย่างที่บอกตอนต้น

โดยมีสาเหตุของความสำคัญที่ต้องแยก ไข้หวัดใหญ่ออกจากไข้หวัดธรรมดานั้น ก็เพราะไข้หวัดใหญ่มีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยกว่า และโดยทั่วไปอาการรุนแรงและยาวนานกว่าไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดธรรมดามีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้น้อยมาก หรือไม่มีเลย แต่ไข้หวัดใหญ่โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงถึงชีวิตอย่าง ปอดบวม ดังนั้นหากแพทย์วินิจฉัยแยกอาการไข้หวัดใหญ่ออกจากไข้หวัดธรรมดาได้ก็จะช่วยให้ดูแลผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงได้ดีขึ้น

คงจะทราบกันดีว่าเชื้อหวัดเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มไวรัสหลักๆ ออกได้ประมาณ 9 ชนิด แต่ละชนิดยังแยกไปอีกนับสิบสายพันธุ์ รวมกันแล้วจึงมีเกิน 100 ชนิด เชื้อเหล่านี้ทำให้เกิดอาการของโรคต่างกันไป ขึ้นกับสายพันธ์และภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อ เช่น ไรโนไวรัส ( Rhinovirus) อาจ ทำให้เกิดหวัดธรรมดา คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จามในผู้ใหญ่ แต่เชื้อเดียวกันนี้อาจทำให้เป็นปอดอักเสบติดเชื้อ โดยอาการมี ไข้ ไอหอบเหนื่อย และอาจอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ในเด็กเล็กๆ เป็นต้น ไวรัสบางตัวก็ทำให้เป็นหวัดคัดจมูกธรรมดา อาจมีเจ็บคอ คออักเสบ หรืออาจมีหลอดลมอักเสบ ซึ่งจะมีอาการไอมากตลอดเวลา ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบด้วย ไวรัสบางชนิดเช่นเชื้อไข้หวัดใหญ่ อินฟลูเอนซ่าไวรัสบี (Influenza virus) อาจทำให้มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เพลียลุกไม่ไหว หรืออาจมีแค่เจ็บคอมีน้ำมูกเฉยๆ ก็ได้ แม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์ แต่เป็นโรคที่นำผู้ป่วยไปพบแพทย์มากที่สุด โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก สำหรับผู้สูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง

ต้องยอมรับว่าแม้นเราจะรู้ว่าเกิดอย่างไร แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคหวัด เนื่องจากมีเชื้อไวรัสสาเหตุมีมากชนิด แต่ก็มีรายงานบางชิ้นระบุว่าวิตามินซีอาจช่วยป้องกันโรคหวัดได้ ในขณะที่ รายงานอีกหลายชิ้นระบุว่าวิตามินซีไม่สามารถป้องกันโรคหวัดได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สามารถทำได้คือการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีคุณค่า เท่านี้ก็เพียงพอต่อการป้องกันไข้หวัด ทางที่ดีทำร่างกายให้อบอุ่นอีกทางน่าจะช่วยได้

อ้าวเจอกันอีกแล้ว กันดรคติดต่อที่มักเกิดในฤดูหนาว นำเสนอผ่านไป 2 โรคเป็นตระกูลของไข้หวัด มาวันนี้ก็เป็น โรคที่คล้ายๆ กันแต่แปลกแตกต่างออกไปนิดหน่อย จะเป้นโรคอะไรมาดูกัน

หลังจากที่ผ่านไป 2 โรคแล้ววันนี้เราก็ยังมีอีกโรคความรู้อีกเรื่องมาฝากกัน โรคนี้มักจะเป็นกันในช่วง ต้นฤดูฝนจนถึงสิ้นฤดูหนาวเลยทีเดียว โรคที่ว่านี้ก็คือโรคปอดบวม มาดูลักษณะของโรคและสาเหตุการเกิดกันดีกว่า