วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน อีกโรคที่ระบาดในฤดูหนาว

จริงๆ โรคนี้บางคนอาจจะบอกว่ามันเป็นโรคที่เกิดในฤดูร้อนไม่ใช่หรือ แต่ที่จริงเป็นโรคที่มักระบาดในช่วง เดือน ตุลาคม–กุมภาพันธ์ แต่ก็มีพบในเดือนเมษายน มาดูลักษณะของโรค

โรคที่ 7 โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute Gastroenteritis) โดยโรคนี้เป็นโรคที่องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญและยืนยันถึงภัยอันตราย เนื่องจากอัตราการเสียชีวิตของเด็กยังมีอัตราที่สูง โดยคร่าชีวิตเด็กทั่วโลกปีละสามหมื่นถึงห้าหมื่นคน เชื้อไวรัสที่เป็น สาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันได้แก่ โรตาไวรัส (Rota virus)


โรคนี้มักพบในเด็ก เชื้อโรคนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียอย่างรุนแรง และมักมีอาการไข้ และอาเจียน บางรายที่เสียน้ำมากอาจช็อค และเสียชีวิต เป็นเชื้อต้นเหตุของลำไส้อักเสบรุนแรงในเด็กอ่อน และเด็กที่มีอายุ 1–3 ขวบ ช่วงที่โรตาไวรัสระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูหนาวระหว่างเดือน ตุลาคม–กุมภาพันธ์ ของทุกปีอย่างที่บอกตอนต้น เชื้อนี้เข้าสู่ร่างกายทางปาก และลงไปที่กระเพาะอาหาร และแบ่งตัวที่ลำไส้ เด็กที่ติดเชื้อ นอกจากสูญเสียน้ำ แล้วยังสูญเสียสารสำคัญที่ช่วยลำไส้ดูดซึมอาหาร

แม้นจะรู้ว่าเกิดอย่างแต่ปัจจุบันก็ยังไม่มียาหรือวิธีการใดที่สามารถกำจัดการติดเชื้อหรือการติดต่อได้อย่างมี ประสิทธิภาพ การล้างมือด้วยสบู่ หรือน้ำยาทำความสะอาด ช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่กระจายได้ อย่างไร ก็ตาม ประเทศที่มีระบบสุขอนามัยที่ดี มีระบบน้ำประปาที่สะอาด ก็ยังไม่สามารถลดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคตัวนี้ได้

โรคนี้ถูกพบโดย ดร.รูธ บิชอป ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ และยังเป็นผู้ค้นพบโรตาไวรัสเป็นครั้งแรกของโรค กล่าวว่า “โรตาไวรัส เป็นเชื้อที่เต็มไปด้วยปริศนา และยังไม่ทราบว่าทำไมบางคนได้รับเชื้อตัวนี้ แต่มีอาการไม่รุนแรง แต่บางคนมีอาการรุนแรง บางทีพันธุกรรมของมนุษย์ก็มีส่วน" โดยเมื่อเป็นโรคนี้แพทย์จะรักษาแบบประคับประคอง คือให้ยาตามอาการ เช่นให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง ยาแก้ไข้ และน้ำเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียเกลือแร่จากการถ่ายและอาเจียน หากร่างกายมีภาวะเครียด แพทย์จะรักษาให้ความดันลดลง

เคยมีการค้นพบวัคชีนเมือนกันแต่ด้วยผลข้างเคียงจึงสั่งยกเลิกไป ในปีพ.ศ.2541 ผู้ผลิตยารายหนึ่งผลิตวัคซีนป้องกันเชื้อโรตาไวรัสสำเร็จ หลังจากผ่านการทดสอบแล้วว่ามีผลป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาจึง อนุมัติให้จำหน่ายในท้องตลาดได้ แต่วัคซีนดังกล่าวต้องถูกถอนออกจากตลาด หลังจากพบว่า ส่งผลให้เกิดอาการลำไส้กลืนกัน แม้ว่าอัตราส่วนของเด็กที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวจะมีน้อยมากก็ตาม

แม้นว่าการการของโรคจะข้อนข้างรุนแรงแต่ป้องกันได้ด้วยการล้องมือ ฆรือที่กระทรวงสาธารณะสุขบอกว่า "กินร้อน ช้องกลาง ล้างมือ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น