วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

โรคในฤดูหนาวอีกโรค โรคไข้หวัดนก

ไข้หวัดนก เมื่อตอนปี 40 เกิดการตื่นตัวอย่างหนักกันโรคนี้ และก็มีการกำจัดไก้ไปมากมาย เพื่อยับยั้งโรค และเป็นเหตุให้ต่างชาติไม่สั่งไก่จากประเทศเรา แต่ถึงอย่างไรโรคนี้สามารถพัฒนาสายพันธ์ได้ แต่ยังไม่มีรายงานที่แน่นอนว่าสามารถติดจากสัตว์มาสู่คนได้ และมักระบาดในฤดูหนาว


โรคที่ 8 กับ โรคไข้หวัดนก (Avian Influenza) เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ (Influenza A) สายพันธุ์ H5N1 เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ในสัตว์ปีกที่มักมีการเรียกขานว่า ไข้หวัดนก สัตว์ปีกทุกชนิดรับเชื้อนี้ได้ ไก่มักป่วยรุนแรงและตาย ส่วนนกน้ำ นกชายทะเล นกป่า และเป็ดมักไม่ป่วย แต่เป็นพาหะ คือมีเชื้อออกมากับมูล ทำให้โรคแพร่มายังไก่ที่เลี้ยงในฟาร์มและตามบ้านเรือน รวมทั้งนกในธรรมชาติ

ซึ่งปกติ ไวรัสไข้หวัดที่มักระบาดในนกไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เพราะไม่สามารถแทรกผ่านและเติบโตในเซลล์ของมนุษย์ได้ ก่อนหน้านี้นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่าไวรัสในสัตว์จะผสมกับไวรัสไข้หวัดในนก ได้เมื่อไวรัสทั้งสองอยู่ในสัตว์ตัวเดียวกัน ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เห็นว่าหมูเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่เป็นไปได้มากที่สุด เพราะเซลล์ของหมูมีโมเลกุลผิวที่เปิดรับไวรัสได้ทั้งสองประเภท สมมติว่าหมูได้รับไวรัสจากเกษตรกรและจากเป็ดในฟาร์มเดียวกัน ไวรัสทั้งสองอาจ “แลกเปลี่ยนข้อมูล” และผลิตไวรัสลูกผสมที่มียีนไวรัสไข้หวัดนกและมีคุณสมบัติในการแพร่เข้าสู่ เซลล์มนุษย์ ซึ่งเป็นไวรัสหน้าใหม่ที่ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ไม่รู้จัก และอันตรายกว่าปกติ

อย่างที่บอกก่อนหน้า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2540 เด็กชายวัย 3 ขวบ ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในฮ่องกง ด้วยอาการไอและมีไข้ ผู้ป่วยอาการทรุดหนักอย่างรวดเร็ว และมีปัญหาในการหายใจ แม้จะได้รับยาปฏิชีวนะจำนวนมาก และใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่เด็กชายกลับเสียชีวิตลงภายใน 6 วัน ผู้เชี่ยวชาญโรคหวัดต่างประหลาดใจ เมื่อตรวจพบเชื้อไวรัส H5N1 ซึ่งเป็นเชื้อชนิดเดียวกับที่ระบาดในไก่อยู่ในเมือกที่หลอดลมของเด็กชาย นับเป็นกรณีแรกที่มีรายงานว่าคนติดเชื้อจากสัตว์ปีกได้ จนกระทั่งปลายปีเดียวกัน คนไข้ 17 คน เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของฮ่องกง ด้วยอาการใกล้เคียงกับเด็กชายที่เสียชีวิตเมื่อต้นปี เมื่อสืบสาวเรื่องราวการระบาดของโรค หลายฝ่ายต่างมุ่งไปที่เป็ด ห่าน และไก่หลายร้อยล้านตัวที่นำกองทัพไวรัสจากสาธารณประชาชนจีนเข้ามายังฮ่องกง ก่อนจะแพร่ระบาดไปยังประเทศอื่นๆ ร่วมครึ่งทวีปเอเชีย และมีผลให้มีการฆ่าสัตว์ปีกจำนวนมหาศาลในปีพ.ศ.2546 และเชื้อไวรัสชนิดนี้เริ่มจู่โจมมนุษย์อีกครั้งเมื่อเดือนสิงหาคม 2548 รายงาน ณ เดือนสิงหาคมระบุว่า มียอดผู้เสียชีวิตในเวียดนาม 40 ราย ไทย 12 ราย กัมพูชา 4 ราย

มีการคาดการร์ของนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ไวรัสชนิดนี้อาจพัฒนาความสามารถในการแพร่กระจายได้เองโดยการกลายพันธุ์ หรือการแลกเปลี่ยนยีนกับไวรัสไข้หวัดในคน ซึ่งเป็นกระบวนการที่อาจเกิดขึ้นในร่างกายของผู้ป่วยที่ได้รับทั้งเชื้อไข้ หวัดนกและไข้หวัดธรรมดาพร้อมๆ กัน แต่ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดเกี่ยวกับกระบวนการแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมดังกล่าว โดยเชื้อไวรัส H5N1 เป็นไวรัสที่น่าสะพรึงกลัว เพราะนักวิทยาศาสตร์มีข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสชนิดนี้ไม่มาก เริ่มจากกระบวนการสังหาร หากไก่ติดเชื้อ ไวรัสจะแพร่ทั้งตัว ทั้งตับไตไส้พุง ปอด สมอง และกล้ามเนื้อ แต่หากเป็นคน พบว่าส่วนใหญ่ ไวรัสจะโจมตีปอดเป็นอันดับแรก อย่างไรก็ตาม ในเวียดนามตรวจพบเด็กชายติดเชื้อ H5N1 ที่มีอาการหนักจากสมองอักเสบและเสียชีวิตในที่สุด แต่ปอดกลับอยู่ในสภาพปกติดี

แต่ในประเทศไทยเองก็เคยมีมีกรณีที่ที่ เชื้อไวรัส H5N1 จากเด็กหญิงที่ป่วยด้วยไข้หวัดนกอาจแพร่ไปสู่แม่และป้าที่เฝ้าพยาบาล แต่ดูเหมือนไวรัสชนิดนี้จะทำได้แค่การแพร่เชื้อจากผู้ป่วยโดยตรงเท่านั้น จนถึงขณะนี้ยังไม่รายงานการแพร่เชื้อแบบต่อเนื่อง หรือการแพร่ระบาดแบบปฏิกิริยาลูกโซ่อย่างที่พบในไวรัสไข้หวัด

แม้นยังไม่มีวัคซีลแต่ก็ถือว่าโชคดีที่มียาต้านไวรัสที่ใช้ได้ผลดีกับการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 ในคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใช้ภายใน 48 ชั่วโมงคือยาที่มีชื่อทางการค้าว่า “ทามิฟลู (Tamiflu)” ของบริษัทโรช แห่งสวิตเซอร์แลนด์ องค์การเภสัชกรรมของไทยได้ซื้อวัตถุดิบสารตั้งต้นเพื่อผลิตยานี้จากอินเดีย โดยเป็นวัตถุดิบชนิดเดียวกับที่บริษัทโรชใช้ผลิตยาทามิฟลู และบริษัทผู้ขายได้ทดลองผลิตยาในห้องปฏิบัติการ เพื่อยืนยันคุณภาพของวัตถุดิบให้องค์การเภสัชกรรมตรวจแล้ว พบว่ามีการละลายและกระจายตัวดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้ดี ทางอินเดียจะส่งวัตถุดิบเพื่อให้องค์การเภสัชกรรมผลิตเป็นยาในระดับห้อง ทดลองจำนวน 5 กิโลกรัม และจะส่งมาให้อีก 100 กิโลกรัม ในเดือนธันวาคมนี้ คาดว่าในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 องค์การเภสัชกรรมจะสามารถผลิตได้ 1 ล้านแคปซูล

ในประเทศไทยเรามีมติของคณะกรรมการยาล่าสุด กำหนดชัดเจนให้ยาทามิฟลูเป็นยาควบคุมพิเศษ ไม่ อนุญาตให้วางขายตามร้านขายยาทั่วไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันกรณีที่มีผู้หาซื้อยามากินเองด้วยความเข้าใจผิดคิดว่า ป้องกันโรคไข้หวัดนกได้ ซึ่งตามความจริงแล้วยาทามิฟลูจะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อแพทย์ได้พิจารณาแล้วว่า ผู้ป่วยรายนั้นๆ สงสัยติดเชื้อไข้หวัดนกเท่านั้น นอกจากนี้อีกเหตุผลหนึ่งที่ทางการกำหนดให้ยาทามิฟลูเป็นยาควบคุมพิเศษ เพื่อเป็นการป้องปรามการพัฒนาของผู้ขายที่อาจนำไปสู่การผลิตยาปลอมได้

ตอนนี้มีข้าวจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศว่าวัคซีนต้านไวรัส H5N1 ที่เกิดจากการปรับเปลี่ยนยีนที่อยู่ระหว่างทดสอบในมนุษย์ ให้ผลเบื้องต้นที่ส่อเค้าถึงความสำเร็จ ซึ่งหลายฝ่ายต่างเฝ้ารอคอยว่าวัคซีนจะผ่านกระบวนการทดสอบจนครบถ้วนกระบวนการ และพร้อมใช้ก่อนที่จะเกิดการระบาดจริง

ยังไงเสียการดูแลตนเองไม่ให้เกิดโรคน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด คำกล่าวที่ว่า “ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” นั้นเป็นความจริงที่สุด ทุกคนไม่มีใครอยากเจ็บป่วย  เพราะว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วจะอยู่ในภาวะที่ไม่สบายกายไม่สบายใจ ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยเท่านั้น  พ่อแม่พี่น้อง ก็พลอยทุกข์ทรมานด้วย และยังทำให้เสียเงินทอง  เสียเวลาในการรักษาการเจ็บป่วยนั้น  ให้กลับคืนสภาพปกติและมีสุขภาพดีให้เร็วที่สุดเมื่อการเจ็บป่วยด้วยโรค ต่างๆ รวมทั้ง 8 โรคอันตรายในฤดูหนาวนี้เป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา เราจึงควรหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยโดยการป้องกันโรค รวมทั้งป้องกันไม่ให้การเจ็บป่วยนั้นรุนแรงมากขึ้นในกรณีที่เป็นโรคแล้ว ทั้งยังควรป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำในกรณีที่หายจากโรคแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น